ผู้นำให้ความสำคัญ “กลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” เพื่อการพัฒนาความเชื่อมโยงถึงกัน ในภูมิภาคอาเซียนในงาน C asean Forum 2023 อัพเดทความรู้ล่าสุดในปี 2023

ผู้นำให้ความสำคัญ “กลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” เพื่อการพัฒนาความเชื่อมโยงถึงกัน ในภูมิภาคอาเซียนในงาน C asean Forum 2023 – อัพเดทความรู้ล่าสุดในปี 2023
ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์. ไทยรัฐ ติดตามข่าวล่าสุด ข่าวด่วน ทันทุกเหตุการณ์ ข่าวกีฬา ผลฟุตบอล ข่าวบันเทิง ดารา สุขภาพ กิน เที่ยว ตรวจหวย ดูดวง เรื่องย่อละคร ไทยรัฐทีวี และอีกมากมายที่
หนังสือพิมพ์รายวันฉบับอินเตอร์เน็ต เสนอข่าวทั่วไปในเมืองไทย และวิเคราะห์ข่าวต่างๆ ข่าวล่าสุด ข่าวด่วน ทันทุกเหตุการณ์ ข่าวกีฬา ผลฟุตบอล ข่าวบันเทิง ดารา สุขภาพ ข่าววันนี้ ข่าวสด ข่าวออนไลน์.
งาน C asean Forum 2023 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ “Master Plan on ASEAN Connectivity: Strategy for Change” ซึ่งให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ขยายโอกาสสำหรับการค้า การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค โดยมีตัวแทนองค์กรจากทั่วโลกมาร่วมงานด้วยตนเองหรือร่วมงานผ่านช่องทางออนไลน์
งานดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน หรือ MPAC 2025 และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากอาเซียนที่ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีปฏิบัติในหลายหัวข้อ ได้แก่ หัวข้อ “Accelerating ASEAN Connectivity with the New Deep Seaport and New Airport of Cambodia” โดย H.E. Mr. Hun Saroeun เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาประจำราชอาณาจักรไทย หัวข้อ “Connecting ASEAN with Digital Logistics & Supply Chain Solutions” โดย คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี หัวข้อ “ASEAN Connectivity for Harmonisation and Efficient Resource Utilisation” โดยคุณ Tony Fernandes ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย หัวข้อ “Master Plan on ASEAN Connectivity (MPAC): Transforming ASEAN into a highly integrated and cohesive economy” โดยคุณ Lim Chze Cheen, Director of ASEAN Connectivity Division สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และหัวข้อ “Vietnam’s Contribution to Sustaining ASEAN Connectivity” โดย H.E. Mr. Pham Quang Vinh ประธาน Vietnam-USA Society อดีตเอกอัครราชทูตแห่งเวียดนามประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และ อดีตผู้นำการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐมนตรีอาเซียน ประเทศเวียดนาม
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานศูนย์ ซี อาเซียน เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุน และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค “หัวข้อของงานในครั้งนี้ ‘Master Plan on ASEAN Connectivity: Strategy for Change’ เปิดโอกาสให้เราได้คำนึงถึงเป้าหมายในการบูรณาการร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน การดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เราสามารถสร้างอาเซียนที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการทำงานร่วมกัน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” คุณฐาปนกล่าว นอกจากนี้ คุณฐาปนยังเน้นถึงความจำเป็นในการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงความร่วมมือที่จะนำทรัพยากรและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมารวมกัน
ในระหว่างการบรรยาย H.E. Mr. Hun Saroeun เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาประจำราชอาณาจักรไทย ได้ยกตัวอย่างความพยายามของกัมพูชาในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในโครงการใหม่ ๆ และโครงการที่กำลังดำเนินการ อาทิ โครงการทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ ท่าเรือน้ำลึกในกัมโพช ท่าเรือดาราสาคร ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ท่าอากาศยานท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะรง โครงการต่าง ๆ ของกัมพูชาจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และช่วยยกระดับความร่วมไม้ร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการบูรณาการร่วมกันและสร้างความเจริญเติบโตภายในภูมิภาค โดยกล่าวถึงการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนด้วยเทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์แบบดิจิทัลและห่วงโซ่อุปทาน คุณรุ่งโรจน์ได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนความเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยย้ำถึงความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานที่ไร้รอยต่อ ยั่งยืน และมีความยืดหยุ่น ซึ่งรวมถึงการเชื่อมโยงระบบแบบ end-to-end ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล แนวทางการทำงานที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวนำ พลังงานหมุนเวียน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยแนวทางแบบองค์รวมนี้จะทำสามารถกระจายสินค้าจากภาคการผลิตไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณรุ่งโรจน์ได้เน้นถึงปัจจัยความสำเร็จที่มีรากฐานอยู่ที่การบริหารจัดการการขนส่ง เทคโนโลยีที่ช่วยในดำเนินงาน และนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้ในการเชื่อมโยงระบบแบบ end-to-end จากการสั่งสินค้าไปจนถึงการชำระเงิน สำหรับการสร้างความเชื่อมโยงในระดับนานาชาติและการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานแบบองค์รวม คุณรุ่งโรจน์กล่าวถึงหัวข้อที่กำลังได้รับความสนใจ ได้แก่ เรื่องของความยั่งยืน ความเป็นกลางทางคาร์บอน และความท้าทายที่มาพร้อมกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือความไม่แน่นอน สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างอาเซียนที่เชื่อมโยงกันได้ดียิ่งขึ้น
คุณ Tony Fernandes ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มแอร์เอเชีย แบ่งปันมุมมองเรื่องการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนว่าควรมีการก่อตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลการบินเพียงหนึ่งเดียว เพื่อให้สายการบินต่าง ๆ เปิดให้บริการการบินระหว่างประเทศและทำงานได้อย่างไร้รอยต่อ คุณโทนี่ยังได้สนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี เพื่อทำแรงงานในภูมิภาคอาเซียนมีความยืดหยุ่น อันจะส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตในระดับภูมิภาครวดเร็วขึ้น
คุณ Lim Chze Ceen, Director of the ASEAN Connectivity Division, Office of Secretary-General at the ASEAN Secretariat ได้เล่าถึงภาพรวมของแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน หรือ MPAC 2025 และความสำเร็จที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แผนแม่บทที่จะนำมาซึ่งความยืดหยุ่น การฟื้นฟูและการเติบโตในอนาคต
ขณะที่ H.E. Mr. Pham Quang Vinh อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหรัฐอเมริกา และ President of Vietnam-USA Society ได้ร่วมบรรยายผ่านทางออนไลน์ถึงความสำคัญของความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนแบบครอบคลุม จากมุมมองของเวียดนามในฐานะพันธมิตรทางกลยุทธ์ นอกจากนี้ยังได้เน้นถึงประโยชน์ของการร่วมมือกันขององค์กรต่าง ๆ แบบไร้รอยต่อ ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกและการพูดคุยแบบข้ามประเทศโดยมีจุดร่วมเดียวกัน ด้วยการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์เศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และการสนับสนุนการสร้างความเชื่อมโยง ผู้นำที่ได้ร่วมบรรยายในงาน C asean Forum 2023 ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการค้า การลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอาเซียน
ตลอด 8 ที่ผ่านมา งานสัมมนา C asean Forum ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการเชื่อมโยงด้านต่าง ๆ ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นและมั่งคั่ง โดยงาน CaF 2023 ครั้งแรกนี้ ไม่เพียงแต่เน้นย้ำถึงความสำคัญของ MPAC 2025 ในการส่งเสริมความเชื่อมโยงและการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค แต่ยังพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของศูนย์ ซี อาเซียนในการร่วมส่งเสริมการพัฒนาในระดับภูมิภาค ผ่านการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ งาน C asean Forum 2023 จัดขึ้นโดยความร่วมมือขององค์กรชั้นนำ ได้แก่ สํานักงานเลขาธิการอาเซียน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย และเวียดเจ็ท
Kết thúc
DIGITAL CHANGING your LIFE สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอเรื่องราวการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเรื่องราวไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข | ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์
หมวดหมู่เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง