เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน (Home furniture)

เลือกกิน “ถั่ว” ให้ถูก ดีต่อสุขภาพแน่นอน อัพเดทความรู้ล่าสุดในปี 2023

เลือกกิน “ถั่ว” ให้ถูก ดีต่อสุขภาพแน่นอน – อัพเดทความรู้ล่าสุดในปี 2023

ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์. ไทยรัฐ ติดตามข่าวล่าสุด ข่าวด่วน ทันทุกเหตุการณ์ ข่าวกีฬา ผลฟุตบอล ข่าวบันเทิง ดารา สุขภาพ กิน เที่ยว ตรวจหวย ดูดวง เรื่องย่อละคร ไทยรัฐทีวี และอีกมากมายที่
หนังสือพิมพ์รายวันฉบับอินเตอร์เน็ต เสนอข่าวทั่วไปในเมืองไทย และวิเคราะห์ข่าวต่างๆ ข่าวล่าสุด ข่าวด่วน ทันทุกเหตุการณ์ ข่าวกีฬา ผลฟุตบอล ข่าวบันเทิง ดารา สุขภาพ ข่าววันนี้ ข่าวสด ข่าวออนไลน์.

/*! elementor – v3.6.4 – 13-04-2022 */
.elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-stacked .elementor-drop-cap{background-color:#818a91;color:#fff}.elementor-widget-text-editor.elementor-drop-cap-view-framed .elementor-drop-cap{color:#818a91;border:3px solid;background-color:transparent}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap{margin-top:8px}.elementor-widget-text-editor:not(.elementor-drop-cap-view-default) .elementor-drop-cap-letter{width:1em;height:1em}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap{float:left;text-align:center;line-height:1;font-size:50px}.elementor-widget-text-editor .elementor-drop-cap-letter{display:inline-block}

ที่มา : เครือข่ายคนไทยไร้พุง

แฟ้มภาพ

                    “ถั่ว” เป็นอาหารที่คนไทยหลายคนรู้จักมาช้านาน และเป็นกลุ่มอาหารที่เรียกได้ว่ามีประโยชน์ นอกจากนี้ถั่วยังมีหลากหลายสายพันธุ์เยอะแยะไปหมด วันนี้จะขอแบ่งประเภทถั่วแบบง่ายๆ ตามลักษณะ และคุณค่าทางสารอาหารหลัก

ถั่วออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ถั่วเปลือกแข็ง  (Nut) เช่น อัลมอนด์ มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท ถั่วลิสง แมคคาดีเมีย ซึ่งเป็นแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีโปรตีน ใยอาหาร วิตามินอี และ แมกนีเซียม อีกด้วย ถั่วประเภทนี้จัดเป็นอาหารที่มีพลังงานสูง ดังนั้นจึงควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม มีงานวิจัยพบว่า การรับประทานถั่ววันละ 1 ฝ่ามือ หรือ 30 กรัม สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ลดไขมัน LDL ทั้งยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย

ตัวอย่าง ถั่ว 30 กรัมได้แก่ อัลมอนด์ หรือ ฮาเซลนัท 20 เม็ด  เม็ดมะม่วงหิมพานต์ แมคคาเดเมีย พีแคน 15 เม็ด พีตาชิโอ ถั่วลิสง 30 เม็ด เชสนัท 4 เม็ด และ บราซิลนัท 10 เม็ด

2. ถั่วเมล็ดแห้ง (Beans) เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วขาว ถั่วเขียว ซึ่งเป็น แหล่งของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามินบี 1 และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังมีสารพฤกษเคมีหลายชนิด ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ซึ่งเราสามารถเลือกได้ในรูปแบบหุงต้มผสมพร้อมข้าว หรือเป็นลักษณะของการแปรรูป เช่น เต้าหู้  และน้ำเต้าหู้ (ควรระวังปริมาณน้ำตาลด้วย) ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในผู้ที่มีปัญหาในการรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถรับประทานเสริมได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถั่วเมล็ดแห้งที่ต้มสุกแล้วประมาณ ½ ถัวยตวง มีคาร์โบไฮเดรตพอๆ กับข้าว 1 ทัพพี และโปรตีนพอๆ กับไข่ 1 ฟอง

 3. ถั่วฝักอ่อน หรือ ถั่วผัก เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ถั่วพู หรือ ถั่วงอก ซึ่งเป็นแหล่งของใยอาหารเป็นหลัก รวมไปถึงคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินบี โฟเลต และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ ถั่วประเภทนี้ จัดได้ว่ามีพลังงานต่ำที่สุด แต่ให้ประโยชน์เรื่องของการอิ่มท้องจากการได้รับใยอาหาร ถั่วประเภทนี้เหมาะกับการทำเป็นกับข้าว เช่น ผัด อบ ลวก ต้ม ยกตัวอย่างเช่น ผัดถั่วฝักยาว  ยำถั่วพูเป็นต้น

                    เรียกได้ว่า กลุ่มอาหารประเภท “ถั่ว” นั้นมีมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย จัดได้ว่าเป็นอาหารที่หาง่าย และมีราคาหลากหลาย เหมาะสำหรับเป็นทั้งอาหารหลัก และอาหารว่าง  และสำหรับองค์กรไหนที่กำลังมองหาอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพสามารถเลือก “ถั่ว” เป็นหนึ่งใน Healthy break สำหรับการประชุมได้  โดยมีไอเดียง่ายๆ ดังนี้

1. สำหรับถั่วเปลือกแข็ง (Nut) เช่น อัลมอนด์ มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท ถั่วลิสง แมคคาดีเมีย โดยเลือกแบบอบ รสธรรมชาติ  จัดเสิร์ฟประมาณ 1 ฝ่ามือ ต่อ 1 ท่าน  จัดเสริ์ฟคู่กับน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาลก็ได้

2. สำหรับถั่วเมล็ดแห้ง สามารถเลือกทานได้หลากหลายแบบ  เช่น ถั่วเขียว หรือ ถั่วแดงต้มน้ำตาล (ใส่น้ำตาลลดลง หรือใส่สารให้ความหวานแทนน้ำตาล) หรือ นมถั่วเหลืองหวานน้อย อาจจัดคู่กับผลไม้ก็ได้

3. สำหรับถั่วผัก หรือ ถั่วฝักอ่อน อาจเลือกเป็นถั่วที่สามารถนำมากินได้ง่าย เช่น ถั่วแระญี่ปุ่น หรือ ถั่วลันเตา ทานครั้งนึงประมาณ ½ – 1 ถ้วยตวง โดยสามารถจัดเสิร์ฟในรูปแบบของการต้ม หรือ อบกรอบรสธรรมชาติ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

                    ง่ายๆ เลยใช่มั้ยคะ ในการจัดอาหารว่างการประชุมให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ทีนี้แทนทีเราจะได้พลังงานส่วนเกินแบบจัดเต็มจากน้ำตาล และไขมันที่มากเกินไป เราก็สามารถอิ่ม อยู่ท้อง และประชุมได้ดีขึ้นจากอาหารเบรคง่ายๆ ที่ดีและมีประโยชน์ ลองนำไปใช้กันดูนะคะ และอย่าลืมว่าอาหารเบรคเป็นแค่ส่วนเสริม ถ้าเราไม่หิว ก็ไม่จำเป็นต้องกินก็ได้  เพราะอาจจะกลายเป็นพลังงานส่วนเกินที่สะสมในร่างกายได้ค่ะ

Kết thúc

DIGITAL CHANGING your LIFE สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอเรื่องราวการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเรื่องราวไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข | ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์

หมวดหมู่เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Back to top button