ส่อแล้ง แม่น้ำยม แห้งขอดตลอดสาย กว่า 126 กม. อัพเดทความรู้ล่าสุดในปี 2023

ส่อแล้ง แม่น้ำยม แห้งขอดตลอดสาย กว่า 126 กม. – อัพเดทความรู้ล่าสุดในปี 2023
ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์. ไทยรัฐ ติดตามข่าวล่าสุด ข่าวด่วน ทันทุกเหตุการณ์ ข่าวกีฬา ผลฟุตบอล ข่าวบันเทิง ดารา สุขภาพ กิน เที่ยว ตรวจหวย ดูดวง เรื่องย่อละคร ไทยรัฐทีวี และอีกมากมายที่
หนังสือพิมพ์รายวันฉบับอินเตอร์เน็ต เสนอข่าวทั่วไปในเมืองไทย และวิเคราะห์ข่าวต่างๆ ข่าวล่าสุด ข่าวด่วน ทันทุกเหตุการณ์ ข่าวกีฬา ผลฟุตบอล ข่าวบันเทิง ดารา สุขภาพ ข่าววันนี้ ข่าวสด ข่าวออนไลน์.

ส่อแล้ง แม่น้ำยม แห้งขอดตลอดสาย กว่า 126 กม.
ขณะที่ชลประทานจังหวัดพิจิตร เร่งบริหารจัดการน้ำแก้ผลกระทบภัยแล้งด้วยการยกประตูฝายกั้นแม่น้ำยมทั้ง 4 บานประตู
วันที่ 28 มกราคม ผู้สื่อข่ารายงาน สถานการณ์ภัยแล้ง จ.พิจิตร ส่อเค้ารุนแรงตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม ที่ไหลผ่านพื้นที่อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และอำเภอโพทะเล ระยะทางยาว 126 กิโลเมตร เริ่มแห้งขอดตลอดสาย มองเห็นเนินดิน พื้นทรายเป็นเกาะแกร่งเท่านั้น และมีเพียงร่องน้ำเล็กๆที่ลึกในช่วงกลางแม่น้ำเท่านั้น ส่งสัญญาณบกบอกถึงภัยแล้งเริ่มตั้งแต่ต้นปี
ทั้งนี้จะส่งผลกระทบกับเกษตรกรและประชาชน ริมสองฝั่งแม่น้ำยม ในการทำการเกษตร และขาดน้ำใช้อุปโภคบิโภค ทั้งที่ก่อนหน้านี้เพียง 2 เดือนปริมาณปริมาณน้ำในแม่น้ำยมยังล้นท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม และ ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง
ทางด้าน นายเอกฉัตร เอี่ยมตาล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิจิตร ได้กล่าวว่า แม่น้ำยม ไม่มีน้ำเป็นต้นทุนของตนเอง ปัจจุบันมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้มีการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม ให้มีน้ำใช้ตลอดในช่วงฤดูแล้ง
โดยได้ทำการยกประตูฝายสามง่าม เป็นฝายขวางกั้นแม่น้ำยม มีระบบประตูไฮโดรลิค ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านจระเข้ผอม ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม โดยได้ทำการยกประตูสูงเฉลี่ย 5 เมตร( 4.30-5.00 ม.) ทั้ง 4 บานประตู ทั้งนี้ลำน้ำยมสามารถกักเก็บน้ำเหนือฝายสามง่าม จากจังหวัดพิจิตร ไปประจบพื้นที่บางระกำโมเดล จังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ลำน้ำยมช่วงเหนือฝายสามง่าม มีมวลน้ำกักเก็บได้จำนวนกว่า 13 ล้านลูกบาศก์เมตร ( 13.80 ลบ.ม.)ประโยชน์ที่เกษตรกรและประชาชนจะได้รับ คือพื้นที่ตำบลสามง่าม ตำบลรังนก และตำบลกำแพงดิน กว่า 3 หมื่นไร่ ส่วนพื้นที่อยู่ใต้ฝายสามง่าม ในพื้นที่อำเภอสามง่ามบางส่วน อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง และอำเภอโพธิ์ทะเล จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งบ้าง
นายเอกฉัตร กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ชลประทานได้ปล่อยน้ำจากฝายสามง่าม ไปทางช่องบานประตูเล็กหรือบานประตูฉุกเฉิน จำนวน 2 ช่อง ๆละ10 เซนติเมตรเพื่อ เลี้ยงระบบนิเวศก์แม่น้ำยม ทั้งนี้กรมชลประทานอยู่ระหว่างการก่อสร้างประตูน้ำขนาดกลาง บริเวณบ้านท่านางงาม ประตูน้ำบ้านท่าแห และประตูน้ำวังจิก ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2568 หากทั้ง 3 แห่งแล้วเสร็จก็จะสามารถกักเก็บน้ำเป็นแบบขั้นบันไดตลอดลุ่มน้ำยมได้ และจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรพื้นที่ลุ่มแม่น้ำในช่วงฤดูแล้งและฤดูน้ำหลากได้
Kết thúc
DIGITAL CHANGING your LIFE สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอเรื่องราวการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเรื่องราวไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข | ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์
หมวดหมู่เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง